วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            ในการวัดการกระจายโดยใช้ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยนั้นมีปัญหาในเรื่องการใช้เครื่องหมายสัมบูรณ์ (Absolute Value) ซึ่งทำให้ค่าที่วัดได้ลดความเชื่อถือไป จึงมีการคิดวิธีวัดการกระจายโดยการยกกำลังสองของผลต่างระหว่างคะแนนกับมัชฌิมเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นแล้วถอดกรณ์ที่ 2 ของส่วนเบี่ยงเบนยกกำลังสองเฉลี่ย เป็นวิธีการวัดการกระจายที่ เรียกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้วัดการกระจายของข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าคะแนนแต่ละตัวจะแตกต่างไปจากค่ากลางมากน้อยเพียงใด คำนวณโดยเอาคะแนน X แต่ละตัวลบด้วยมัชฌิมเลขคณิต() ของข้อมูลชุดนั้น ซึ่ง X – แต่ละตัวอาจมีค่าเป็นลบ (X < ) หรือบวก (X>) จึงต้องยกกำลังสองของคะแนนเบี่ยงเบนแต่ละตัวนั้นเพื่อให้เครื่องหมายหมดไป แล้วหาค่าเฉลี่ยของผลบวกของกำลังสองของคะแนนเบี่ยงเบน คือ ซึ่งจะได้รับค่าความแปรปรวน ถ้าถอดรากที่สองของค่าความ แปรปรวนจะได้ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ความแปรปรวน (Variance) คือ ค่าเฉลี่ยของผลรวมทั้งหมดของคะแนนเบี่ยงเบนยกกำลังสอง ใช้สัญลักษณ์ S2 แทนความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างและ s 2 แทนความแปรปรวนของประชากรซึ่งหาได้จากสูตร
                ความแปรปรวนประชากร s 2 =
                ความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง S2 =
คือ มัชฌิมเลขคณิตกลุ่มตัวอย่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คือ รากที่สองของความแปรปรวน
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร s ใช้สูตร
    s =
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง S ใช้สูตร        S =

ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการวิจัย
ในที่นี้เราจะใช้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวัดการกระจายซึ่งใช้กับจำนวนข้อมูลจำนวนไม่มากนักและนิยมใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งคำนวณได้ดังนี้




X

( X-)

( X-)2

1
2
4
6
8
9

-4
-3
1
1
3
4

16
9
1
1
9
16

= 52



                                S.D. = =   =    =
      ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดนี้คือ 2.9                                    




คะแนน

f

x

fx

x -

(x - )2

f(x - )2

5 – 9
10 – 14
15 - 19
20 – 24
25 – 29
30 – 34
35 – 39

3
6
7
8
10
12
14

7
12
17
22
27
32
37

21
72
119
176
270
384
148

-16.8
-11.8
-6.8
-1.8
3.2
8.2
13.2

282.24
139.24
46.24
3.24
10.24
67.24
172.24

846.72
835.44
323.68
25.92
102.4
806.88
696.96

N = 50



วิธีทำ             1. หาค่ามัชฌิมเลขคณิต =
       
 ข้อสังเกต

  1. เป็นการวัดการกระจายที่ให้ค่าลักษณะข้อมูลได้ละเอียดและดีที่สุดและเป็นการวัดการกระจายที่ใช้กันมากที่สุด
  2. เมื่อเอาค่าคงที่ (C) บวก หรือ ลบคะแนนทุกตัวของข้อมูลชุดหนึ่ง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง
  3. เมื่อเอาค่าคงที่ (C) คูณคะแนนทุกตัวของข้อมูลชุดหนึ่ง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
  4. เมื่อเอาค่าคงที่ (C) หารคะแนนทุกตัวของข้อมูลชุดหนึ่ง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

S = Sx


จาก:http://reg.ksu.ac.th/teacher/kanlaya/3.9.html


= 2. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน                    สูตร S.D =
                                    =
                                    =
                                    =
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลนี้ คือ 8.53

    1. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลที่จัดหมวดหมู่ (Grouped Data)

S.D. =
S.D. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
f คือ ความถี่
X คือ จุดกึ่งกลางชั้น
คือ มัชฌิมเลขคณิต

N คือ จำนวนข้อมูล
ตัวอย่างที่ 19 จากข้อมูลในตารางจงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล
    1. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ (Ungrouped Data) สูตร S.D. =
      S.D. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
      X1 คือ ข้อมูล (i = 1,2,3…N) คือ มัชฌิมเลขคณิต
      N คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด
      ตัวอย่างที่ 17 จงหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลต่อไปนี้ 1, 2, 4, 6, 8, 9
      วิธีทำ 1. หาค่ามัชฌิมเลขคณิต = = 5
    2. หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สร้างตารางช่วยในการคำนวณ

สมการ

สมการ
         หมายถึงประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้แสดงว่าสองสิ่งเหมือนกัน หรือเทียบเท่ากัน ที่เชื่อมด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ดังตัวอย่าง
2 + 3 = 5
สมการมักใช้เป็นการกำหนดสภาวะความเท่ากันของสองนิพจน์ที่มีตัวแปรอย่างน้อยหนึ่งตัว ตัวอย่างเช่น เมื่อเราให้ค่าใดๆ กับ x สมการนี้จะเป็นจริงเสมอ
xx = 0
ทั้งสองสมการข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของสมการที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหมายความว่า สมการจะเป็นจริงโดยไม่ต้องมีการแทนค่าใดๆ ลงในตัวแปร สำหรับสมการต่อไปนี้ไม่ได้เป็นเอกลักษณ์
x + 1 = 2
สมการข้างบนนี้จะไม่เป็นจริงเมื่อแทนค่าอื่นใด แต่จะเป็นจริงแค่เพียงค่าเดียว เราเรียกค่าที่ทำให้สมการเป็นจริงนั้นว่า รากของสมการ สำหรับรากของสมการดังกล่าวคือ 1 ดังนั้น สมการนี้สามารถเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับค่าของ x เรียก x ที่ทำให้สมการเป็นจริงว่า "คำตอบของสมการ" นั่นคือการแก้สมการจึงเป็นการหาคำตอบของสมการวิธีหนึ่ง เช่น 5-x = 1 มีคำตอบของสมการ คือ 4

หลักการแก้สมการ

1. ถ้าตัวเลขในฝั่งซ้ายมีค่าเป็นบวก และฝั่งขวามีค่าเป็นบวกและมากกว่าฝั่งซ้ายให้ย้ายไปลบได้เลย เช่น
     A+56=57
     A =57-56
     A =1

2 .ถ้าฝั่งซ้ายมีค่าเป็นบวก และฝั่งขวามีค่าเป็นบวก แต่ฝั่งขวามีค่าน้อยกว่าให้ย้ายตัวแปรก่อน เช่น

     A+19 = 10
    19 = 10-A
    19-10 = A
     9 = A

คุณสมบัติ

ถ้าสมการในพีชคณิตสามารถเป็นจริงได้ การกระทำต่อไปนี้ก็สามรถทำให้ทั้งสองข้างเท่ากัน เราเรียกว่า
สมบัติการเท่ากัน
  1. ปริมาณใดๆ สามารถบวกทั้งสองข้างของสมการได้
  2. ปริมาณใดๆ สามารถลบทั้งสองข้างของสมการได้
  3. ปริมาณใดๆ สามารถคูณทั้งสองข้างของสมการได้
  4. ปริมาณใดๆ ที่ไม่เท่ากับศูนย์ สามารถหารทั้งสองข้างของสมการได้
  5. โดยทั่วไป ฟังก์ชันใดๆ สามารถนำไปใช้กับทั้งสองข้างของสมการได้ (ยกเว้นบางฟังก์ชันที่ต้องกำหนดเงื่อนไขก่อนนำไปใช้ เช่น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเอกซโพเนนเชียล เป็นต้น)
จาก:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีการหาร

        การหารในทางคณิตศาสตร์ คือ การดำเนินการเลขคณิตที่เป็นการดำเนินการผันกลับของการคูณ และบางครั้งอาจมองได้ว่าเป็นการทำซ้ำการลบ พูดง่ายๆ คือการแบ่งออกหรือเอาเอาออกเท่าๆ กัน จนกระทั่งตัวหารเหลือศูนย์ (หารลงตัว)
ถ้า
a × b = c,
เมื่อ b ไม่เท่ากับ 0 แล้ว
a = c ÷ b
(อ่านว่า "c หารด้วย b") ตัวอย่างเช่น 6 ÷ 3 = 2 เพราะว่า 2 × 3 = 6
ในนิพจน์ข้างบน a คือ ผลหาร, b คือ ตัวหาร และ c คือ ตัวตั้งหาร
นิพจน์ c ÷ b มักเขียนแทนด้วย "c/b" โดยเฉพาะในคณิตศาสตร์ขั้นสูง (รวมถึงการประยุกต์ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม) และในภาษาโปรแกรม การเขียนแบบนี้ มักใช้แทนเศษส่วน ซึ่งยังไม่ต้องการหาค่า
ในภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ c ÷ b มักเขียนว่า c : b ซึ่งในภาษาอังกฤษ จะใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) เมื่อมันเกี่ยวข้องกับสัดส่วน
สำหรับการหารด้วยศูนย์นั้น ไม่นิยาม

ตัวอย่างการหารยาว
ในการหารยาวมีขั้นตอนหลายอย่างที่ต้องทำตามลำดับ ยกตัวอย่างจากโจทย์การหาร 950 ด้วย 4
1. อันดับแรก เขียนตัวตั้งและตัวหารให้อยู่ในรูปแบบนี้
4 \overline{) 950} \
กระบวนการนี้จะเป็นการหารจำนวนในแต่ละหลักของตัวตั้ง (950) ด้วยตัวหาร (4)
2. ตัวเลขในหลักแรกทางซ้ายมือ (9) จะถูกหารด้วยตัวหาร (4) เขียนผลหารที่เป็นจำนวนเต็มไว้เหนือหลักที่หาร (2) โดยไม่ต้องสนใจเศษเหลือ จากนั้นให้คูณตัวหารกับผลหารดังกล่าว (4 × 2 = 8) ใส่ไว้ใต้ตัวตั้งหารในหลักที่ตรงกัน

\begin{matrix}
2\\
4\overline{)950}\\
8
\end{matrix}
3. ลบตัวเลขด้านล่าง (8) ด้วยตัวเลขด้านบนที่อยู่ติดกัน (9) ใส่คำตอบ (1) ไว้ใต้ตัวเลขด้านล่าง (8) จากนั้นให้ดึงตัวตั้งหารในหลักถัดไปลงมา (5) ใส่ไว้ทางขวาของผลลบนั้น

\begin{matrix}
2\\
4\overline{)950}\\
\underline{8}\\
\;\,15
\end{matrix}
4. ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำโดยใช้จำนวนใหม่ที่อยู่ล่างสุดเป็นตัวตั้งหาร (15) หารด้วยตัวหารตัวเดิม (4) และเขียนผลหารไว้ข้างบน เขียนผลคูณระหว่างผลหารกับตัวหารไว้ข้างล่าง

\begin{matrix}
\,\,23\\
4\overline{)950}\\
\underline{8}\\
\;\,15\\
\ \underline{12}\\
\quad\;\,30
\end{matrix}
5. ทำขั้นตอนที่ 4 ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบทุกหลักของตัวตั้งหาร จำนวนที่อยู่เหนือขีดคือผลหาร (237) และจำนวนที่เกิดจากผลลบตัวสุดท้ายจะเป็นเศษเหลือ (2)

\begin{matrix}
\quad 237\\
4\overline{)950}\\
\underline{8}\\
\;\,15\\
\ \underline{12}\\
\quad\;\,30\\
\quad\;\,\underline{28}\\
\qquad 2
\end{matrix}
ดังนั้นคำตอบของโจทย์ข้างต้นคือ 237 เศษ 2 ในอีกทางหนึ่งเรายังสามารถหารต่อไปได้อีกเพื่อให้ได้คำตอบเป็นทศนิยม โดยการใส่จุดทศนิยมและเติมศูนย์เท่าที่ต้องการทางด้านขวาของตัวตั้งหาร แล้วนับเลขศูนย์นั้นเป็นตัวตั้งหารอีกหลักหนึ่ง ดังนั้นขั้นตอนต่อไปของโจทย์เดิมทำได้ดังนี้

จาก:http://th.wikipedia.org/wiki/%